Phayao+

นวัตกรรมระบบแนะแนวและดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแบบองค์รวม ที่พัฒนาขึ้นโดยครูและบุคลากรทางการศึกษา สกร.ระดับอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถ ค้นพบตนเอง พัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ภายใต้บริบทของสังคมยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โมเดลนี้มุ่งเน้นการบูรณาการ การแนะแนวและการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การเรียนรู้แบบออนไลน์ และการวัดผลประเมินผล โดยมีครูและบุคลากรทางการศึกษา สกร.ระดับอำเภอเมืองพะเยา เป็นผู้จัด ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ และอยู่เคียงข้างผู้เรียนตลอดเส้นทางการศึกษา

Phayao+
PHAYAO+

PHAYAO+

PHAYAO+ นำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้รูปแบบที่หลากหลาย อย่างไรบ้าง

Phayao+

PHAYAO+ เป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองนโยบายสำคัญของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ปีงบประมาณ 2568 ได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการบูรณาการการแนะแนว การดูแลช่วยเหลือ การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ และการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองเข้าไว้ในระบบเดียวกัน โดยมีครูเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน และผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลง “เรียนดี มีความสุข”

  • 1. ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
    PHAYAO+ สร้างพื้นฐานการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดอยู่เพียงในรูปแบบการพบกลุ่ม แต่พัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในโลกจริง เช่น การรู้จักตนเอง การวางแผนชีวิต การปรับตัว และการแสวงหาความรู้ต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่มุ่งพัฒนาคนให้ “เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anywhere Anytime) และทุกช่วงวัย”
  • 2. สร้างระบบการแนะแนวและการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนแบบองค์รวม (Coaching)
    สกร.ระดับอำเภอเมืองพะเยา ได้เน้นย้ำบทบาทของครูและบุคลากรในการดูแลผู้เรียนอย่างใกล้ชิด PHAYAO+ ตอบสนองโดยการพัฒนาเครื่องมือและระบบที่สนับสนุนครูแนะแนว และครูผู้สอนให้ทำหน้าที่เป็น โค้ช ใช้การประเมิน ศักยภาพ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนเป็นฐานข้อมูล เพื่อออกแบบแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล
  • 3. ลดความเหลื่อมล้ำด้านโอกาสทางการศึกษา (Equity in Access)
    PHAYAO+ เน้นการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียนออนไลน์ สื่อการเรียนรู้ แบบทดสอบดิจิทัล การแนะแนวออนไลน์ และการเข้าถึงข้อมูลแบบเปิด เพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้เรียนที่ขาดการพบกลุ่ม หรือขาดโอกาส สามารถเข้าถึงการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองได้อย่างเท่าเทียมเสมอภาค
  • 4. ยกระดับบทบาทครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
    PHAYAO+ ไม่เพียงให้ความสำคัญกับผู้เรียน แต่ยังส่งเสริมให้ครูเปลี่ยนบทบาทจาก "ผู้สอน" มาเป็น “ผู้อำนวยการเรียนรู้” และ “ผู้นำการแนะแนว” ซึ่งตรงกับทิศทางของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ต้องการพัฒนาครูให้สามารถทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ออกแบบประสบการณ์เรียนรู้ และวางแผนการดูแลผู้เรียนได้อย่างมืออาชีพ
  • 5. บูรณาการการเรียนรู้เข้ากับบริบทของท้องถิ่น (Localized Learning)
    PHAYAO+ ออกแบบขึ้นจากบริบทของครูและผู้เรียนในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โดยเน้นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นที่อาชีพ และบริบทจริงของชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ “พื้นที่จริง คนจริง ปัญหาจริง”